ยาต้านไวรัส HIV หรือ ยา PEP และ PrEP อันตรายไหม ควรรู้อะไรบ้าง ?

ยา-PEP-และ-PrEP-อันตรายไหม-ควรรู้อะไรบ้าง

PEP และ PrEP อันตรายไหม

สำหรับคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อ HIV คงรู้จักยาต้านไวรัส PEP และ PrEP เพราะถือว่ายาทั้งสองเป็นยาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพสูง มีผลในการป้องกันได้ถึง 90% แต่ถึงอย่างไรการใช้ยาต้านเชื้อก็ย่อมมีทั้งผลดีและผลเสีย

ในยุคสังคมปัจจุบัน การเปลี่ยนแฟน หรือเปลี่ยนคู่นอนกลายเป็นเรื่องปกติ อีกทั้งโลกได้เปิดกว้างให้ผู้มีรสนิยมชื่นชอบในเพศเดียวกันมากขึ้น จึงทำให้ผู้คนสมัยนี้เกิดความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อ HIV สูงมากขึ้น

อันตรายจากการได้รับเชื้อ HIV

เชื้อ HIV ไม่ได้หมายถึงโรคเอดส์เสมอไป แต่เชื้อ HIV เป็นเชื้อไวรัสที่เกิดภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง จนทำให้มีโรคต่างๆฉวยโอกาสที่จะแทรกแซงเข้ามาในร่างกายในช่วงที่เราอ่อนแอและรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้

หากมีพฤติกรรมเสี่ยงที่จะมีโอกาสจะได้สัมผัสกับเชื้อ HIV  ควรสวมถุงยางอนามัย ควบคู่ไปกับการทานยา PEP หรือ ยา PrEP เพื่อประสิทธิภาพในการต้านเชื้อไวรัสสูงสุด

ยา PEP

ยา PEP เป็นยาต้านเชื้อไวรัสฉุกเฉิน สำหรับผู้ไม่มีเชื้อ HIV แต่ได้ไปสัมผัสกับผู้ที่มีเชื้อ HIV เช่น โดนข่มขืน หรือถุงยางอนามัยแตกขณะมีเพศสัมพันธ์กับผู้ไม่ทราบว่ามีเชื้อ HIV หรือไม่ บุคคลเหล่านี้ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะต้องได้รับยา PEP อย่างเร่งด่วน ยิ่งทานเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี หรืออย่างช้าก็ต้องทานภายใน 72 ชั่วโมงเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการต้านเชื้อสูงสุด แต่ถ้าทานหลังจาก 72 ชั่วโมงไปแล้ว ประสิทธิภาพของยาจะลดลง หรือไม่สามารถต้านเชื้อไวรัสได้เลย

อันตรายและผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นหลังทานยา PEP

PEP เป็นยาต้านเชื้อเร่งด่วนที่มีความจำเป็น เพื่อประสิทธิภาพในการป้องกัน แต่แน่นอนว่า ยา PEP ย่อมมีผลข้างเคียงต่อสุขภาพ บางคนที่ทานยา PEP จะมีอาการ ท้องเสีย  ปวดหัว รู้สึกอิดโรย คลื่นไส้ อาเจียน  ก่อนทานยา แพทย์จะอธิบายถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นเหล่านี้ ดังนั้น ผู้ที่ทานยา PEP ควรทำความเข้าใจและเตรียมรับอาการที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้สามารถทานยาได้ครบตามกำหนด และไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้งเพื่อตรวจร่างกาย  แต่อาการข้างเคียงเหล่านี้จะค่อยๆหายไปเอง หรือบางคนอาจจะไม่เกิดผลข้างเคียงเหล่านี้เลยก็มีเช่นกัน

ยา PrEP

ยา PrEP เป็นยาต้านเชื้อไวรัส สำหรับผู้ที่ไม่มีเชื้อ HIV แต่มีพฤติกรรมเสี่ยงที่จะไปสัมผัสกับผู้มีเชื้อ HIV เช่น มีรสนิยมทางเพศชายรักชาย มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ฯลฯ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ มีความเสี่ยงสูงมากที่จะได้รับเชื้อ HIV

ยา PrEP เป็นยาต้านเชื้อไวรัส ผู้ใช้ยานี้ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ยา PrEP ต้องทานทุกวัน เพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV ซึ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันได้ 90% ไม่ใช่ 100%  หากลืมกินยาย่อมมีผลทำให้มีโอกาสที่จะติดเชื้อได้เช่นกัน ดังนั้นวินัยในการกินมีผลต่อประสิทธิภาพของยา ผู้ใช้ยานี้จึงควรตั้งเวลาแจ้งเตือนเพื่อกันไม่ให้ลืมทานยา

เมื่อทานครบกำหนดแล้วจะต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพทุก 3-6 เดือน เพื่อตรวจหาเชื้อและตรวจการทำงานของไต และตรวจสุขภาพร่างกาย เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้รับเชื้อและมีสุขภาพที่แข็งแรงเป็นปกติ

หากลืมกันยา PrEP จะเกิดอะไรขึ้น

ยา PrEP มีวัตถุประสงค์เพื่อต้านเชื้อไวรัส ไม่กินเพื่อรักษา ดังนั้น ประสิทธิภาพในการต้านเชื้อจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อทานยาเป็นประจำทุกวันตามกำหนด หาลืมกินยาบ่อยๆ ประสิทธิภาพในการต้านเชื้อก็จะลดลง โอกาสที่จะติดเชื้อก็จะสูงขึ้น

อันตรายจากการทานยา PrEP

การทานยา PrEP ถึงแม้จะทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อ แต่ก็ต้องทานเป็นประจำต่อเนื่องจนครบกำหนด ดังนั้น ย่อมทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อสุขภาพ ในบางราย ช่วงแรกๆ อาจจะเกิดอาการ คลื่นไส้ อาเจียน น้ำหนักลด เวียนศรีษะ ท้องเสีย ปวดท้อง มีผื่นขึ้นตามตัว แต่ในบางรายมีอาการที่รุนแรง เช่น เกิดลมพิษ ปวดกล้ามเนื้อ เกิดอาการชา อ่อนแรง หายใจผิดปกติ หน้าบวม จนถึงขึ้นแพ้ยา หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

อาการแพ้ยา หรือผลข้างเคียงเหล่านี้จะเกิดขึ้นในบางรายเท่านั้น ดังนั้น ผู้ที่ใช้ยานี้ ควรทำความเข้าใจและเตรียมรับมือกับอาการที่จะเกิดขึ้น โดยหมั่นสังเกตตัวเอง และรีบไปพบแพทย์หากเกิดการรุนแรงเพื่อรับการรักษาได้ทัน และสามารถทานยา PrEP ได้ครบตามกำหนด เพราะในบางรายทนอาการข้างเคียงเหล่านี้ไม่ไหว และหยุดทานยา ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ HIV ได้

ข้อห้ามในการใช้ยา PrEP

สำหรับหญิงที่มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อจากสามีหรือจากพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ แต่กำลังตั้งครรภ์ หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร ห้ามทานยา PrEP เด็ดขาด และควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที

การทาน ยา PEP และ ยา PrEP  มีผลข้างเคียงในบางราย หากเตรียมตัวให้พร้อม และทำความเข้าใจก่อนทานยา ก็จะสามารถรับมือกับอาการเหล่านั้นได้ และสามารถทานยาต้านเชื้อต่อเนื่องไปจนครบกำหนดได้

สำหรับคนที่ทานยา PEP และยา PrEP แพทย์จะนัดเพื่อทำการตรวจไต ตรวจหาความสมบูรณ์ของมวลกระดูกทุก 3 เดือนหรือตามที่แพทย์เห็นสมควร หรือบางรายมีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ แพทย์ก็จะตรวจภาวะการตั้งครรภ์ให้ด้วย

ดังนั้นเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ควรไปพบแพทย์ตามนัดจะเกิดผลดีกับผู้ใช้ยาทั้งสองประเภท

หากต้องการยา PrEP หรือ PEP ก็สามารถรับได้ที่ : https://www.bangkoksafeclinic.com/th/