ฝากไข่ ไม่อันตรายอย่างที่คิดหากใครกำลังคิดจะทำแนะนำให้อ่านบทความนี้

ฝากไข่

คุณผู้หญิงเคยคิดกันไหมคะ ว่าอยากจะวางแผนชีวิตครอบครัว โดยผู้ที่อยู่ในแผนนั้นด้วยนอกจากเราและคู่รักแล้ว ยังมีเจ้าตัวน้อย ด้วยๆ แต่ด้วยภาระและหน้าที่การงานทำให้ยังไม่พร้อมที่จะมีครอบครัวตอนนี้ แต่อย่าได้ห่วงไปค่ะ การฝากไข่ สามารถช่วยทำให้แผนชีวิตครอบครัวนั้นเดินไปต่อได้ ในบทความนี้เราจะมาแนะนำ ข้อมูลเกี่ยวกับการฝากไข่ที่ควรรู้ เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนจะไปฝากไข่

มุมแนะนำการฝากไข่ คืออะไร ?

มีหลายคนทราบว่าการฝากไข่ คือการรักษาผู้มีบุตรยาก แต่ คนที่รู้ความหมายของมันจริงๆนั้นมีน้อย การฝากไข่ คือ การนำเซลล์ไข่ของผู้หญิงออกมาจากร่างกาย เพื่อนำไปแช่เก็บรักษาด้วยไนโตรเจนเหลวในห้องปฏิบัติการ ที่มีการใช้อุณหภูมิถึง – 195 องศาเซลเซียส หรือที่เรียกกันว่า Vitrification  เพื่อให้ไข่ยังคงรักษาคุณภาพได้นาน ก่่อนนำมาใช้ใหม่ในอนาคตเมื่อคุณผู้หญิงพร้อม

ถ้าเข้าเกณฑ์ตามนี้ คุณคือผู้ที่ควรฝากไข่

ต้องบอกก่อนว่าจริงๆแล้ว ผู้หญิงทุกคนสามารถฝากไข่ได้ แต่คุณผู้หญิงที่อยู่ในกลุ่มดังต่อไปนี้ ควรเป็นอย่างยิ่งที่จะเข้ารับการฝากไข่…

  • ผู้หญิงที่ยังไม่พร้อมตั้งครรถ์
  • ผู้หญิงที่ระบบสืบพันธุ์มีปัญหา
  • ผู้หญิงที่มีโรคผิดปกติทางพันธุกรรม กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ ซินโดรม ( Turner Syndrome) และกลุ่มอาการโครโมโซมXเปราะบาง (Fragile X syndrome) 
  • ผู้ต้องเข้ารับการผ่าตัดบริเวณรังไข่
  • ผู้หญิงที่ครอบครัวมีประวัติประจำเดือนหมดก่อนวัยอันควร
  • ผู้หญิงที่รักษาโรคมะเร็ง
  • ผู้หญิงที่ล้มเหลวกับวิธี ICSI , IVF 

เจาะลึกขั้นตอนการฝากไข่ ที่คุณควรรู้

ในการฝากไข่นั้น ขั้นตอนการฝากไข่ที่ถูกต้องและจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นสิ่งสำคัญ และ ตัวคุณผู้หญิงเองก็ควรจะศึกษาไว้ก่อนไปเข้ารับการฝากไข่ค่ะ โดยขั้นตอนทั้งหมดจะมีดังนี้

  1. เข้ารับคำปรึกษาและคำแนะนำจากแพทย์ โดยแพทย์จะทำการแนะนำและอธิบายเกี่ยวกับการฝากไข่ให้เราฟังและเข้าใจ
  2. แพทย์จะนัดวันฉีดยากระตุ้นรังไข่ เพื่อให้ไข่ของเราผลิตเซลล์ไข่ได้ในปริมาณที่เพียงพอและมีคุณภาพ ในขั้นตอนนี้แพทย์จะให้ยากระตุ้นรังไขเรา กลับไปฉีดที่บ้านด้วย
  3. แพทย์จะนัดวันเก็บไช่ โดยเมื่อถึงวันนั้น เราจะต้องทำการอัลตราซาวน์เพื่อดูว่าไข่ที่เราจะเก็บนั้นได้ที่ และ มีปริมาณที่เพียงพอหรือยัง ถ้าเพียงพอแล้ว แพทยฺ์จะใช้เครื่องมือคล้ายๆเข็มหลอด ดูด ไข่จากรังไข่ของเราออกมา ผ่านช่องคลอด
  4. เมื่อได้ไข่มาแล้ว จะนำใส่ภาชนะ แล้วนำไปเก็บที่ห้องปฏิบัติการ โดยที่นั่นจะภาชนะที่ใส่ไข่นั้นจะถูกควบคุมให้เย็นด้วยไนโตรเจนเหลวที่มีอุณหภูมิถึง -195 องศาสเซลเซียส ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการทำให้เซลล์หยุดทำงานและคงสภาพไว้

รู้ไว้ก่อนไปทำ การเตรียมตัวก่อนการไปฝากไข่

การเตรียมตัวเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม การฝากไข่ก็เหมือนกัน ในหัวข้อนี้ เราจะมาบอกคุณผู้หญิงถึงการเตรียมตัวที่ถูกต้องก่อนเข้ารับการฝากไข่ เพื่อให้สามารถฝากไข่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  1. ใช้ยากระตุ้นรังไข่ตามที่แพทย์สั่ง ข้อนี้สำคัญมากเพราะ การใช้ยากระตุ้นรังไข่ จะส่งผลให้รังไข่ผลิตไข่ออกมา เพื่อนำไปเก็บ
  2. ทานโปรตีนและ วิตามิน ตามที่แพทย์แนะนำ เพราะการกินอาหารก็มีส่วนช่วยในการบำรุงรังไข่ของคุณผู้หญิง
  3. งดทำกิจกรรมหนัก เพราะจะเป็นการกระทบกระเทือนรังไข่
  4. พักผ่อนให้เพียงพอและลดภาวะความเครียด เพราะความเครียดมีผลต่อฮอร์โมนของคุณผู้หญิง

การฝากไข่ อายุเกี่ยวไหม มีผลไรไหม ?

อายุเป็นสิ่งที่ค่อนข้างมีผลกับการฝากไข่ การฝากไข่จะมีประสิทธิภาพที่สุด ในช่วงอายุ 20-30 ปี แต่ทั่งนี้ไม่ได้หมายความว่า อายุ 35 ปีจะฝากไม่ได้นะคะ ได้ค่ะ เพียงแต่อาจจะต้องฉีดยากระตุ้นฮอร์โมนที่เยอะขึ้นและมีการเก็บไข่หลายครั้งขึ้นค่ะ

แพงไหม การฝากไข่ ราคาเท่าไร ?

ถ้าอยากฝากไข่ การฝากไข่ต้องมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง แต่ไม่แพงเท่า ICSI หรือ IVF ซึ่งมีราคาประมาณนี้

  • ค่าบริการทางการแพทย์   100,000 – 150,000 บาท ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงพยาบาลกำหนด
  • ค่าบริการเก็บรักษาไข่รายปี 1,500-5,000 บาท ต่อปี ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงพยาบาลกำหนด

จากค่าใช้จ่ายด้านบนนี้จะเห็นได้ว่า ควมกว้างราคามีความหลากหลาย ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาลรัฐจะมีราคาค่ายบริการต่างๆที่ถูกกว่า

ฝากไข่ ที่ไหนดี ต้องคำนึงอะไรบ้าง

คุณผู้อ่านคงจะทราบกันดีแล้วว่า ปัจจุบันมีสถานพยาบาลและโรงพยาบาลหลายที่เปิดบริการให้คุณผู้หญิงเข้าไปฝากไข่ เช่น ฝากไข่ รพ จุฬา หรือ ฝากไข่ รามา แต่คุณผู้หญิงทราบไหมว่าเราควรใช้หลักเกณฑ์ใดในการเลือก สถานพยาบาล หรือโรงพยาบาลเพื่อขอไปเข้ารับการฝากไข่ มาลองดูกันค่ะ

  1. ระยะทางในการเดินทางจากที่พักของเรา
  2. แพทย์ที่ดูแลเราให้คำปรึกษาเรามีความรู้ด้านนี้เฉพาะทางหรือไม่
  3. โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลมีศูนย์ที่เฉพาะทางด้านการรักษาผู้มีบุตรยาโดยเฉพาะหรือไม่
  4. ค่าใช้จ่ายที่เรารับไหว
  5. สุขอนามัยความสะอาดของโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลนั้นๆ

มุมรวมคำถาม Q&A รวบรวมข้อสงสัยเกี่ยวกับการฝากไข่

มุมนี้จะรวมคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับฝากไข่ที่ทางผู้เขียนคิดว่าน่าจะมีประโยชน์เพิ่มเติมกับผู้อ่านทุกท่านค่ะ

อัตราการตั้งครรถ์ของไข่ที่ฝากเป็นอย่างไร ?

อัตราความสำเร็จของการฝากไข่นั้นขึ้นกับอายุเป็นส่วนสำคัญ โดย ที่อายุ 20-30 ปี  จะมีโอกาสสำเร็จสูงถึง 80%-90% เลยทีเดียวซึ่งนับว่าสูงมาก แต่เมื่ออายุที่มากขึ้น โอกาสสำเร็จก็จะน้อยลงตามทำให้ เราต้องดูดไข่ออกมาผสมใหม่ค่ะ

ไข่เก็บได้นานไหม ? ฝากไข่เก็บไว้ได้กี่ปี

การเก็บไข่นั้น จากสถิติที่ผ่านมา ทางผู้เขียนอยากจะบอกว่า แทบไม่มีเวลาจำกัด ขอเพียงว่ามีสารให้ความเย็นเพียงพอในการเก็บรักษา แต่ขอแนะนำคุณผู้หญิงว่า ควรใช้ไข่ก่อนอายุ 50 ปี จะดีกว่า เพราะ ป้องกันปัญหาโรคแทรกซ้อนเมื่ออายุมากขึ้น 

การฝากไข่เจ็บไหม ถ้ากลัวเจ็บต้องทำอย่างไร

ก่อนอื่นเลยต้องบอกว่า การฝากไข่นั้นแทบไม่เจ็บเลย แม้กระทั่งตอนฉีดฮอร์โมนกระตุ้นรังไข่ที่หลายคนคิดว่าน่าจะเจ็บ แต่ต้องบอกว่า หลังจากทำการดูดไข่ออกมาแล้ว มีการพักฟื้นแล้ว เราจะพบกับปัญหาปวดหน่วงตรงช่องท้อง เหมือนการปวดประจำเดือน 

อายุที่มากขึ้น สังขารเริ่มโรยรา อายุ 40 ฝากไข่ได้ไหม

อย่างที่บอกไปว่า การฝากไข่ แม้จะอายุ 40 ก็ยังฝากได้ แต่อาจจะต้องเก็บไข่หลายครั้ง เพื่ออัตราสำเร็จทีมากขึ้น โดยวัยนี้อาจจะต้องฉีดยากระตุ้นรังไข่ แล้ว นัดวันมาเก็บรังไข่หลายครั้ง กว่า พวกที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งค่าใช้จ่ายก็จะมากขึ้นตามไปด้วยครับ แต่ฝากได้ค่ะ ไม่มีปัญหาเลย

สรุป

จากบทความนี้คิดว่าคงมีคนสนใจการฝากไข่ไม่น้อย ทางผู้เขียนเชื่อว่า บทความนี้จะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านที่สนใจเกี่ยวกับการฝากไข่มากเลยค่ะ แต่ทั้งนี้ ก่อนที่จะไปฝากไข่ ควรศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจกับการฝากไข่ก่อนนะคะ เพื่อตัวเราเอง สุดท้ายนี้ทางผู้เขียนหวังว่า คุณผู้หญิงทุกท่านจะมีโอกาสได้ทำหน้าที่แม่ที่ดีตามที่ตั้งใจไว้ค่ะ