[เจาะลึก] รากฟันเทียม คืออะไร ดีจริงไหม? ก่อนฝังรากเทียม ควรรู้อะไรบ้าง

รากฟันเทียม หรือรากเทียม ราคาเท่าไหร่ เลือกแบบไหนดี
รากฟันเทียม คือ วัสดุที่ใช้ทดแทนรากฟันที่เสียไป มีลักษณะเป็นเกลียวคล้ายกับน็อต
รากฟันเทียม คืออะไร

รากฟันเทียม คืออะไร

รากฟันเทียมหรือรากเทียมก็คือ วัสดุที่ใช้ทดแทนรากฟันที่เสียไป มีลักษณะเป็นเกลียวคล้ายกับน็อต โดยทันตแพทย์จะทำการฝังรากฟันเทียมลงบริเวณกระดูกขากรรไกร เมื่อตัวรากเทียมยึดกับกระดูกได้สมบูรณ์จึงจะทำการยึดเข้ากับฟันปลอมเป็นขั้นตอนสุดท้าย ทำให้ดูเหมือนฟันธรรมชาติทั่วไป สะดวกมากกว่าฟันปลอมและการทำสะพานฟันที่อาจจะหลวมหรือทำให้เคี้ยวอาหารไม่ถนัด

รากฟันเทียมมีกี่ชนิด ต่างกันยังไง ถึงสามารถเข้ากับกระดูกและเนื้อเยื่อของมนุษย์ได้ดี และไม่เสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา
รากฟันเทียมมีกี่ชนิด ต่างกันยังไง

รากฟันเทียมมีกี่ชนิด ต่างกันยังไง

รากฟันเทียม เป็นวัสดุที่ทำจากโลหะไทเทเนียม ซึ่งเป็นโลหะที่สามารถเข้ากับกระดูกและเนื้อเยื่อของมนุษย์ได้ดี และไม่เสื่อมสภาพไปตามกาลเวลาอีกด้วย มีทั้งหมด2ชนิดด้วยกัน คือ

  1. รากฟันเทียมแบบผ่าตัดฝังราก เป็นรากเทียมที่ต้องทำการผ่าตัดเปิดเหงือกจนลงไปถึงกระดูกขากรรไกร เพื่อทำการฝังและยึดตัวรากฟันเทียมให้ติดอยู่กับที่ รอจนเนื้อเยื่อสมานตัวเรียบร้อยแล้ว จึงจะทำการฝังตัวฟันปลอมต่อไป
  2. รากฟันเทียมแบบหลอมเนื้อโลหะเป็นโครง ซึ่งจะหลอมโลหะให้มีรูปร่างคล้ายกับโครงสร้างรากฟันอันเดิมของเรามากที่สุด จากนั้นจึงจะนำมาติดที่กระดูกขากรรไกร เมื่อเนื้อเยื่อเหงือกสมานกันสมบูรณ์แล้ว จึงจะทำการใส่ฟันปลอมต่อไป

ความแตกต่างของรากเทียมทั้ง2ชนิดก็คือ ถ้าเราเลือกรากฟันเทียมแบบผ่าตัดฝังราก จะสามารถเลือกได้หลังจากที่ฝังรากเสร็จสมบูรณ์แล้ว ว่าจะทำฟันปลอมแบบซี่เดียว หลายซี่ หรือทำฟันปลอมทั้งปาก ส่วนค่าใช้จ่ายโดยประมาณจะอยู่ที่ราวๆ30,000-45,000บาทจนไปถึงหลักแสน ขึ้นอยู่กับคุณภาพวัสดุที่เลือกใช้และชื่อเสียงของโรงพยาบาลหรือคลินิกทันตกรรม

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดฝังรากเทียม เริ่มต้นจากทันตแพทย์จะประเมินความพร้อมของร่างกาย มีการตรวจช่องปากอย่างละเอียด
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดฝังรากเทียม

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดฝังรากเทียม

เริ่มต้นจากทันตแพทย์จะประเมินความพร้อมของร่างกาย มีการตรวจช่องปากอย่างละเอียด ตรวจ สอบปริมาณเนื้อกระดูกขากรรไกร ว่ามีเพียงพอสำหรับการฝังรากเทียมหรือไม่ จากนั้นทันตแพทย์ที่ชำนาญในด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อง จะร่วมกันศึกษาและวางแผนการผ่าตัด เพราะการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมอาจจะต้องทำมากกว่า1ครั้ง ทำให้ต้องวางแผนให้รอบคอบ และตัวคนไข้ต้องปลอดภัยที่สุด

สำหรับการใช้ยาชา ขึ้นอยู่กับคนไข้แต่ละคนว่ามีความกังวลกับการผ่าตัดมากแค่ไหน มีการใช้ยาชาเฉพาะที่ ในรายที่มีความกังวลมากๆ อาจจะได้รับยาคลายกังวลหรือยาสลบ(ต้องงดน้ำและอาหารก่อนการผ่าตัด)ร่วมด้วย

ขั้นตอนการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม ใช้เวลานานพอสมควร ทุกขั้นตอนจะค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้แน่ใจว่าคนไข้จะได้รับความเสี่ยงน้อยที่สุด
ขั้นตอนการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม

ขั้นตอนการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม

การฝังรากฟันเทียม เป็นการทำหัตถการที่ใช้เวลานานพอสมควร ทุกขั้นตอนจะค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้แน่ใจว่าคนไข้จะได้รับความเสี่ยงน้อยที่สุด ขั้นตอนทั้งหมดแบบคร่าวๆมี5ขั้นตอนด้วยกัน คือ

  1. หากพบว่ามีฟันบางซี่ที่ไม่สามารถรักษาให้ดีขึ้นได้แล้ว อาจจะต้องทำการถอนออก
  2. ในรายที่มีเนื้อกระดูกน้อย จะต้องทำการปลูกถ่ายเนื้อกระดูกจากส่วนอื่นก่อน เพราะถ้าฝังรากฟันเทียมไปทั้งแบบนั้น เวลาที่เคี้ยวอาหาร แรงบดเคี้ยวจะส่งผลทำให้เนื้อกระดูกบริเวณนั้นไม่สามารถรองรับรากฟันเทียมได้ แและการฝังรากเทียมจะล้มเหลวในที่สุด
  3. ทำการผ่าตัดฝังรากเทียม ทันตแพทย์จะกรีดเพื่อเปิดชั้นเหงือกไปจนถึงกระดูกขากรรไกร จากนั้นจะเจาะรูและฝังตัวรากฟันเทียมลงไป
  4. รอให้กระดูกสมานกันแบบสมบูรณ์(อาจใช้เวลาหลายเดือน) ทันตแพทย์จึงจะใส่เดือยรองรับครอบฟันลงไป โดยยึดไว้กับรากฟันเทียม
  5. เมื่อเนื้อเยื่อเหงือกบริเวณนั้นฟื้นฟูตัวเองสมบูรณ์แล้ว ก็จะถึงเวลาใส่ฟันปลอมในแบบที่เราเลือกไว้ ซึ่งมีทั้งถอดออกได้และยึดติดกับรากเทียมถาวร
การปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม งดเคี้ยวน้ำแข็ง หรืออาหารแข็งๆ ให้ทานอาหารนิ่มๆ เคี้ยวง่าย
การปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม

การปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม

  • ดูแลรักษาความสะอาดของช่องปากและฟัน
  • เข้าพบทันตแพทย์ตามนัดหมายอย่างสม่ำเสมอ
  • งดเคี้ยวน้ำแข็ง หรืออาหารแข็งๆ ให้ทานอาหารนิ่มๆ เคี้ยวง่าย
  • งดดื่มชา กาแฟ
  • งดสูบบุหรี่(สำคัญมาก)
อาการที่สามารถเกิดขึ้นได้หลังการฝังรากฟันเทียม เหงือกและใบหน้าบวม ปวดแผลที่ผ่าตัด มีเลือดออกเล็กน้อย 
อาการที่สามารถเกิดขึ้นได้หลังการฝังรากฟันเทียม

อาการที่สามารถเกิดขึ้นได้หลังการฝังรากฟันเทียม

  • เหงือกและใบหน้าบวม
  • ปวดแผลที่ผ่าตัด
  • มีเลือดออกเล็กน้อย

ตามปกติแล้ว หลังการผ่าตัดฝังรากเทียม ทันตแพทย์จะสั่งยาปฏิชีวนะมาให้เราทาน เพื่อยับยั้งการติดเชื้อจากแบคทีเรียในช่องปาก แต่ทุกการผ่าตัดก็จะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ เนื้อเยื่อ เส้นเลือด เส้นประสาทบริเวณที่ผ่าตัดอาจถูกทำลาย และอาจจะเกิดปัญหาเกี่ยวกับไซนัสได้ ดังนั้น หากมีอาการที่ผิดปกติหรือรู้สึกว่าแผลผ่าตัดระบมมากจนทนไม่สามารถอดทนต่อความเจ็บปวดได้ ให้รีบทำการติดต่อเพื่อพบทันตแพทย์ทันที

ใครบ้างที่สามารถทำรากฟันเทียมได้ มีฟันหลุด1ซี่หรือมากกว่านั้น กระดูกบริเวณขากรรไกรเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว
ใครบ้างที่สามารถทำรากฟันเทียมได้

ใครบ้างที่สามารถทำรากฟันเทียมได้

ทุกการผ่าตัดมักจะมีความเสี่ยงเสมอ ผู้ที่มีสภาวะร่างกายที่ไม่ปกติหรือมีอาการของโรคบางอย่าง จึงไม่สามารถทำการฝังรากฟันเทียมได้ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากการผ่าตัดสูงกว่าคนปกติ ซึ่งลักษณะของผู้ที่สามารถเข้ารับการฝังรากเทียมได้ มีดังนี้

  1. มีฟันหลุด1ซี่หรือมากกว่านั้น
  2. กระดูกบริเวณขากรรไกรเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว
  3. มีเนื้อกระดูกเพียงพอหรือสามารถผ่าตัดปลูกถ่ายเนื้อกระดูกให้มีปริมาณมากขึ้นได้
  4. ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคเหงือก
  5. แผลผ่าตัดสมานตัวได้ตามปกติ ไม่มีปัญหาแผลสมานตัวได้ช้า
  6. ไม่สูบบุหรี่
  7. สามารถเข้ารับการรักษาได้ต่อเนื่องจนเสร็จสิ้นกระบวนการทั้งหมด

นอกจากจะมีลักษณะตามที่กล่าวมาแล้ว ยังขึ้นอยู่กับการประเมินของทันตแพทย์ด้วย ถ้ามีโรคประจำตัว มีประวัติการแพ้ยา ต้องแจ้งทันตแพทย์ด้วย เพื่อจะได้วางแผนการรักษาที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด

จะเห็นว่าการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมใช้ระยะเวลานานหลายเดือน และมีค่าใช้จ่ายตั้งแต่หลักหมื่นจนถึงหลักแสน ซึ่งถือว่าสูงพอสมควร ดังนั้นควรเตรียมตัวและค่าใช้จ่ายให้พร้อม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ไม่ทานอาหารที่กรอบหรือแข็ง ดูแลรักษาความสะอาดช่องปาก และเข้าพบทันตแพทย์ตามนัดหมายอยู่เสมอ

 

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก gedgoodlife.com และ คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล