ร้อยไหมก้างปลา
ร้อยไหมก้างปลา คือ ชื่อที่คุณหมอส่วนใหญ่ใช้เรียก การร้อยไหมเงี่ยง (barb) เพื่อดึงใบหน้าให้ยกกระชับ ส่วนชื่อที่หมอคนไทยตั้งขึ้นมาเองคือ ไหมก้างปลา เพื่อใช้อธิบายให้คนไข้มองเห็นภาพและเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น เนื่องจากเงี่ยงไหมมีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับก้างปลา
ในทางการแพทย์เงี่ยงลักษณะดังกล่าวไม่ได้เรียกว่า ก้างปลา (fishbone) แต่มีชื่อเรียกว่า bidirectional barbed thread ซึ่งยังมีอีกหลายชื่อเรียกที่คนไทยตั้งกันขึ้นมาเอง ยกตัวอย่างเช่น ไหมปิรันย่า ไหมเงี่ยงกุหลาบ ไหมทับทิม ไหมจระเข้ ไหมมังกร ไหมปากฉลาม ไหม double-lock ไหมทอร์นาโด
โดยไหมที่มีชื่อเรียกต่าง ๆ ดังกล่าวในทางการแพทย์ ล้วนแล้วแต่เป็นไหมเงี่ยง bidirectional barbed thread ทั้งหมด แต่ด้วยเหตุผลทางการค้าจึงมีการตั้งชื่อเรียกให้ต่างกัน มิได้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
สิ่งที่คนไข้ควรให้ความสำคัญก็คือ วัสดุที่ใช้ทำเส้นไหม ซึ่งเป็นจุดที่แตกต่างกัน วัสดุที่ปลอดภัยจะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้ PDO PLLA PCL อีกเรื่องหนึ่งคือขนาดของเส้นไหมมีหน่วยวัดสากล ได้แก่ USP2-0, USP0, USP1, USP2
สาเหตุที่มีการแบ่งวัสดุและขนาดของเส้นไหมตามหลักสากลนี้ เพื่อให้สามารถบอกถึง คุณภาพของไหมแต่ละชนิดได้อย่างชัดเจน ร้อยไหมกี่วันเห็นผล ทำแล้วอยู่ได้นานไหม และช่วยดึงหน้าได้ดีเพียงไร
เปรียบเทียบไหมก้างปลาชนิด PDO ที่มีลักษณะเงี่ยงและขนาดต่างกัน และจะมาเจาะลึกว่า ร้อยไหมอะไรดีที่สุด? ในบทความนี้
ทำไมจึงมีบางคนที่บอกว่า ร้อยไหมแล้วไม่ได้ผล
เทคนิคการร้อยไหมก้างปลา หากย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 4-5 ปีที่แล้ว ยังไม่ค่อยแพร่หลายเหมือนในปัจจุบันนี้ โดยทั่วไปการร้อยไหมจะเป็นการใช้ไหมเรียบ (mono) เส้นเล็ก ๆ สั้น ๆ เพื่อเติมเต็มผิว ทำการร้อยเข้าไปในผิวชั้นตื้น แต่จะไม่สามารถดึงยกกระชับผิวได้ โดยจะช่วยในเรื่องริ้วรอยคล้ายกับการฉีดฟิลเลอร์
แต่ผลที่ได้ในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกเกิดจากอาการบวมเท่านั้น ผลลัพธ์ต่างไปจากคำที่โฆษณาไว้ จึงไม่เป็นที่น่าประทับใจ จึงทำให้คนไข้หลายคนเข็ดกับการร้อยไหม จากการที่เคยเสียเงินจำนวนมากเพื่อลองทำแต่กลับไม่ได้ผล
การร้อยไหม mono เพื่อยกกระชับใบหน้าในทุกวันนี้เกือบทุกคลินิกจะไม่มีแล้ว โดยคนไข้มักจะนิยมทำ Hifu แทนหากต้องการได้ผลลัพธ์ที่คล้ายกับการร้อยไหม mono เนื่องจาก Hifu ให้ผลที่ชัดเจนกว่าและอยู่ได้นานกว่า
ในทุกวันนี้การร้อยไหมส่วนใหญ่จะเป็น การร้อยไหมก้างปลา แทบทั้งสิ้น และเนื่องจากการร้อยไหมเป็นหัตถการที่ราคาที่ไม่แพง ได้ผลดีมากคุ้มกับเงินที่จ่ายไป จึงทำให้คนจำนวนไม่น้อยหันกลับมานิยมการร้อยไหมกันมากยิ่งขึ้นอีกครั้ง
ภาพเปรียบเทียบไหมเรียบ (mono) เส้นบน กับไหมก้างปลา (barb) เส้นล่าง การร้อยไหม mono ในสมัยก่อนไม่ค่อยเห็นผล เนื่องจากไหม monoไม่มีเงี่ยงที่ช่วยในการดึงผิวที่หย่อนคล้อย
เลือกใช้ไหมก้างปลาลักษณะใด จึงดีที่สุด
ไหมก้างปลาที่ดีที่สุดควรมีคุณสมบัติดังนี้
ไหมก้างปลาที่ดีที่สุด และอยู่ได้นาน วัสดุที่ใช้ทำเส้นไหม ควรจะละลายช้า
วัสดุที่ใช้ ร้อยไหมก้างปลา เป็นไหมละลายที่ใช้ในทางการแพทย์ได้อย่างปลอดภัย เช่น ใช้ในการผ่าตัดเย็บหัวใจ ได้แก่ PDO PLLA และ PCL ในขณะที่ไหมละลายจะช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน ทำให้ผิวบริเวณที่ร้อยไหมกระชับขึ้นแข็งแรงขึ้นด้วย
- ไหม PLLA มีจุดเด่น คือ ความแข็ง แต่ก็มีข้อเสียนั่นคือ เปราะหักง่าย
- ไหม PCL มีจุดเด่นคือ มีความยืดหยุ่น โดยไหม PCL รุ่นล่าสุดจะมีส่วนผสมของ PLLA ในสัดส่วนที่เหมาะสมอีกด้วย จึงส่งผลให้ในตอนนี้ไหม PCL+PLLA ถูกจัดเป็นวัสดุเส้นไหมที่ดีที่สุด
ร้อยไหมก้างปลา อยู่ได้นานแค่ไหน?
โดยทั่วไปแล้วเส้นไหม PCL+PLLA จะอยู่ได้นานถึง 18-24 เดือน แต่ก็ไม่ได้แปลว่าจะพยุงผิวได้นานขนาดนั้นในทุกราย เพราะในคนไข้บางเคสที่โครงสร้างผิวขาดคอลลาเจนและอีลาสติน ผิวจะหลุดออกจากเส้นไหมก่อนที่ไหมจะละลายไปหมด จึงส่งผลให้การยกพยุงของเส้นไหมจะอยู่ได้สั้นลง
แต่เนื่องจากมีการสร้างอีลาสตินขึ้นมาจากการร้อยไหมที่ทำไปก่อนหน้านี้ ทำให้ผิวเกิดการยึดเกาะได้ดีขึ้นเมื่อร้อยไหมในครั้งต่อไป รวมถึงผลลัพธ์ที่อยู่ได้นานขึ้นเรื่อย ๆ จึงสามารถแก้ไขด้วยการร้อยไหมเพิ่มเข้าไปใหม่ในแนวเดิม
ร้อยไหมก้างปลา แต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร
ถ้าใครที่คิดจะไปร้อยไหมแต่ยังไม่ได้ดูคลิป VDO นี้ ถือว่าพลาดอย่างแน่นอน ซึ่งจะเป็นการสาธิตให้เห็นว่า ร้อยไหมแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันอย่างไร
ร้อยไหมอะไรดีที่สุด? ร้อยไหมแต่ละชนิดต่างกันอย่างไร? | V Square Clinic
ไหมก้างปลาเส้นใหญ่ เงี่ยงใหญ่ อยู่ได้นานขึ้น เพราะละลายช้า
ตารางเปรียบเทียบขนาดของเส้นไหมตามหน่วยวัดสากล USP
วิธีดูขนาดของเส้นไหมก้างปลา (ไล่จากซ้ายไปขวา ตามรูปด้านบน) ซึ่งสามารถสังเกตได้จาก สีของเข็มที่ใช้ ร้อยไหมก้างปลา ได้แก่
- เข็มสีเทา 27G ใช้ในการร้อยไหมที่มีขนาด USP 5-0
- เข็มสีส้ม 25G ใช้ในการร้อยไหมที่มีขนาด USP 4-0
- เข็มสีฟ้า 23G ใช้ในการร้อยไหมที่มีขนาด USP 3-0
- เข็มสีเขียว 21G ใช้ในการร้อยไหมที่มีขนาด USP 2-0 เข็มชนิดนี้คลินิกทั่วไปมักนิยมใช้ เพราะเข็มมีขนาดเล็ก ร้อยง่าย ไม่ต้องใช้ความชำนาญสูงก็ทำได้ ทำให้เกิดบวมช้ำน้อย เพียงแต่อยู่ได้ไม่นานเพราะไหมมีขนาดเล็ก
- เข็มสีเหลืองอ่อน 20G ใช้ในการร้อยไหมที่มีขนาด USP0
- เข็มสีน้ำตาล 19G ใช้ในการร้อยไหมที่มีขนาด USP1
- เข็มสีชมพู 18G ใช้ในการร้อยไหมที่มีขนาด USP2 (ซึ่งเป็นไหมก้างปลาเส้นใหญ่ที่สุดในปัจจุบันนี้)
ไหมก้างปลาในคลินิกทั่วๆไปจะมีขนาด USP 3/0 , 2/0 สังเกตุได้จากสีของเข็มที่ใช้ร้อยไหมจะเป็น สีฟ้า(23G) หรือ สีเขียว(21G)
ที่ V Square clinic หมอจะเลือกใช้ไหมก้างปลาเส้นที่ใหญ่ที่สุดตอนนี้คือ USP2 USP1 USP0 เข็มที่ใช้ร้อยไหมจะเป็นเข็มสี สีชมพู(18G) สีน้ำตาล(19G) หรือ สีเหลืองอ่อน(20G)
ไหมก้างปลาที่ดี คือไหมที่มีความยืดหยุ่นสูง
ไหม PCL ดังที่ได้อธิบายไว้ในข้อ 1 จะไม่เปราะและขาดง่าย ทนต่อการขยับได้ดี เพราะมีความยืดหยุ่นสูงที่สุด ส่วนไหม PLLA จะเปราะและขาดง่ายเมื่ออยู่ในผู้ที่มีการขยับใบหน้าตลอดเวลา แต่ข้อดีคือแข็งทนทานต่อแรงดึงได้ดีที่สุด
ไหมก้างปลา ที่ช่วยในการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน
เนื่องจาก PLLA สามารถกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน (Collagen) และอิลาสติน (elastin) ได้สูงที่สุด ดังนั้น เพื่อช่วยให้โครงสร้างผิวแข็งแรงขึ้นหลังจากที่ร้อยไหม ไหม PCL รุ่นล่าสุดจึงได้มีการนำ PLLA มาผสมเข้าไปด้วย
ตัวอย่าง ไหมก้างปลา ชนิดต่างๆ
ร้อยไหมก้างปลา ตัวอย่างไหมก้างปลาชนิดต่างๆ
เรียงจากซ้ายไปขวา
- A.ไหมก้างปลา PDO USP 0 รุ่นมาตรฐาน
- B.ไหมก้างปลา PDO USP 2 (เส้นใหญ่ที่สุด)
- C.ไหมก้างปลา PCL USP2 (เส้นใหญ่ที่สุด ดีที่สุด)
เปรียบเทียบระหว่าง ไหมก้างปลา pdo USP2 (รูปภาพบน) กับ ไหมกุหลาบ(MINT) pdo USP2 (รูปภาพล่าง) หลายคนอาจจะคิดว่าไหมกุหลาบ MINT น่าจะดีกว่า หากมองดูจากรูปภาพ
แต่ในข้อเท็จจริงแล้วในกระบวนการผลิตไหมกุหลาบ ส่วนของเส้นไหม A กับส่วนของเงี่ยงไหม B ไม่ได้ถูกหลอมขึ้นมาพร้อม ๆ กัน แต่จะถูกหลอมแล้วค่อยนำมาเชื่อมกันตามรอยเส้นปะ
จากนั้นเมื่อไหมละลาย จะไม่สามารถดึงผิวไว้ได้นานกว่าไหมก้างปลาดังคำโฆษณา เพราะส่วน A กับ B จะหลุดออกจากกันก่อน รวมถึงจำเป็นต้องใช้เข็มที่ขนาดใหญ่กว่ามากในขั้นตอนการร้อยไหมกุหลาบ จึงทำให้เกิดอาการบวมช้ำเยอะ และราคาก็แพงกว่ามาก จึงส่งผลให้ไหมกุหลาบไม่เป็นที่นิยมในทุกวันนี้
ที่เห็นในภาพบน เป็นรูปภาพที่ใช้ในการโฆษณาของ ไหมกรวย silhouette ซึ่งเป็นวัสดุประเภท PLLA ส่วนรูปภาพล่างเป็นรูปของเส้นไหมของจริง คนอาจเข้าใจผิดได้เมื่อดูจากรูปโฆษณาคิดว่าไหมกรวยมีขนาดใหญ่ จึงคิดว่าน่าจะดึงผิวได้เป็นอย่างดี แต่แท้จริงแล้วไหมกรวยไม่เป็นที่นิยมใช้ในการร้อยไหม เพราะราคาสูงมาก และยังมีขนาดเส้นค่อนข้างเล็ก (USP 0) อีกด้วย
ร้อยไหมก้างปลา กี่เส้น จึงจะดีที่สุด
ก่อนทำคุณหมอจะเป็นผู้ประเมินทุกเคส ว่าคนไข้แต่ละรายควรจะใช้ไหมก้างปลาข้างละกี่เส้น ซึ่งตามปรกติจะใช้ข้างละ 3-10 เส้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่
- คนไข้ต้องการดึงในจุดใดบ้าง
- ขนาดเนื้อแก้มของคนไข้
- ความแน่นของผิว
ที่ V Square Clinic จะมีให้เลือก 2 วัสดุคือ PDO กับ PCL+PLLA โดยเลือกใช้ไหมก้างปลาที่ดีที่สุดเท่านั้น และเส้นใหญ่ที่สุดครับ
หากคนไข้ต้องการให้อยู่ได้นานขึ้นกว่าปรกติ ก็สามารถใช้จำนวนเส้นที่เยอะขึ้นได้ คล้ายกับการใช้เชือกจำนวนหลายเส้นในการยกของย่อมแข็งแรงมั่นคงและอยู่ได้นานยิ่งขึ้น ทั้งนี้ คุณหมอจะเป็นผู้ประเมินจำนวนเส้นไหมที่ต้องใช้ตามความเหมาะสมกับคนไข้แต่ละเคส
ไหมก้างปลา PDO
- ร้อยไหมก้างปลา 6 เส้น ราคา 6,999 .- บาท
- ร้อยไหมก้างปลา10 เส้น ราคา 9,900 .- บาท
- ร้อยไหมก้างปลา 12 เส้น ราคา 11,000 .- บาท
ไหมก้างปลา PCL+PLLA
- ร้อยไหมก้างปลา 4 เส้น ราคา 9,900 .- บาท
- ร้อยไหมก้างปลา 6 เส้น ราคา 13,000 .- บาท
- ร้อยไหมก้างปลา 10 เส้น ราคา 19,999 .- บาท
รีวิว ร้อยไหมก้างปลา
รีวิวร้อยไหมก้างปลา
*ผลการรักษาแตกต่างกันแต่ละบุคคล
ร้อยไหมกี่วันเห็นผล หลังร้อยไหมก้างปลา หน้าบวมกี่วัน
ผิวจะถูกเงี่ยงไหมที่มีลักษณะคล้ายตะขอจะเกี่ยวดึงขึ้น ซึ่งสามารถเห็นผลได้ทันทีหลังเข้ารับการร้อยไหม ตามปรกติแล้วในช่วง 3-4 วันแรกหลังร้อยไหมมักจะมีอาการบวมมากยิ่งขึ้น
จากนั้นอาการบวมจะค่อย ๆ ยุบลงและเข้าที่ภายใน 14 วัน ทั้งนี้ หากหลังครบ 4 วันแล้วคนไข้ยังมีอาการบวมแดงมากขึ้น ปวดมากขึ้นกว่าเดิม ควรรีบกลับไปคลินิกเพื่อให้แพทย์ทำการตรวจประเมินและรับยากินเพิ่มเติม
จากภาพรีวิวด้านบน คือรูปหลังร้อยไหมทันที จะเห็นว่าเกือบทุกเคสบวมช้ำไม่มากครับ เนื่องจากหากคนไข้ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดทั้งก่อน-หลังร้อยไหม รวมถึงในทุกวันนี้ มีการพัฒนาเทคนิคการร้อยไหมก้างปลาให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีทั้งการใช้เข็มทู่ และการฉีดยาชา จึงส่งผลให้คนไข้ส่วนใหญ่หน้าจะบวมไม่มากหลังจากร้อยไหมแล้ว ภายในระยะเวลา 7-14 วันมักจะดีขึ้น 80% ครับ
เอกสารอ้างอิง
- A.C. Vieira, J.C. Vieira, R.M. Guedes, A.T. Marques. EXPERIMENTAL DEGRADATION CHARACTERIZATION OF PLA-PCL, PGA-PCL, PDO AND PGA FIBRES. แหล่งข้อมูล:http://iccm-central.org/Proceedings/ICCM17proceedings/Themes/Behaviour/SUSTAIN%20GREEN%20COMP/F23.9%20Vieira.pdf
- Silhouette Soft. thread lift. แหล่งข้อมูล:https://silhouette-soft.com/the-procedure/
- Jake Yoon. MINT (Minimal Invasive Non-Surgical Thread). แหล่งข้อมูล:https://youtu.be/hhgQcIERo5w