อาการแพ้ฟิลเลอร์ คืออะไร? เป็นอันตรายหรือไม่? ใครบ้างไม่เหมาะที่จะฉีดฟิลเลอร์?

อาการแพ้ฟิลเลอร์

อาการแพ้ฟิลเลอร์ ถ้าเป็นการใช้สารไฮยาลูรอนิกแอซิด (HA) ในการฉีด โอกาสมีได้น้อยมาก ๆ ที่จะเกิดอาการแพ้ขึ้น โดยมีข้อดีคือ ปลอดภัย ไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ อยู่ในร่างกายได้นาน มีความคงตัว ก่อนฉีดไม่จำเป็นต้องทดสอบอาการแพ้ และสามารถสลายไปได้เอง แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถฉีดฟิลเลอร์ได้ ซึ่งคุณหมอได้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อยกเว้นในบางกรณีดังรายละเอียดในบทความดังต่อไปนี้

ใครบ้างไม่เหมาะที่จะฉีดฟิลเลอร์?

ทุกคนไม่ใช่ว่าจะสามารถฉีดฟิลเลอร์ได้ โดยผู้ที่มีข้อจำกัดดังต่อไปนี้จะไม่เหมาะกับการฉีดฟิลเลอร์

  1. หญิงที่อยู่ในระหว่างการให้นมบุตร หรือกำลังตั้งครรภ์
  2. ผู้ที่ฉีดฟิลเลอร์ไม่ได้เด็ดขาด ได้แก่ ผู้ที่มีอาการแพ้ฟิลเลอร์ หรือแพ้สารไฮยาลูรอนิกแอซิด
  3. ควรหลีกเลี่ยงการฉีดฟิลเลอร์ ในผู้ที่เป็นงูสวัด หรือเริมอยู่  เพื่อป้องการอาการกำเริบมากยิ่งขึ้น
  4. คนที่กำลังรับประทานยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด อาทิเช่น ยาแอสไพริน (ASA), ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด (Warfarin), ยาแก้อักเสบปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (NSAIDS), สารสกัดจากใบแปะก๊วย (Gingko biloba), วิตามินอี (Vitamin E) เป็นต้น รวมถึงคนที่มีแผลฟกช้ำง่าย มีปัญหาเลือดออกแล้วหยุดยาก 

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการฉีดฟิลเลอร์ และอาการแพ้ฟิลเลอร์ เป็นอย่างไร?

อาการแพ้ฟิลเลอร์หรือผลข้างเคียงจากการฉีด filler อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายชนิด ดังต่อไปนี้

  1. หากมีการฉีดฟิลเลอร์ใกล้ๆ กับกล้ามเนื้อที่มีการขยับบ่อย ๆ อาจจะเกิดปัญหาการเคลื่อนย้ายของฟิลเลอร์ คือ ฟิลเลอร์มีการเคลื่อนที่ไปยังบริเวณข้างเคียงที่ไม่ต้องการ ไหลออกจากตำแหน่งที่ฉีด  ดังนั้น เพื่อช่วยลดปัญหาฟิลเลอร์เคลื่อนย้ายจากบริเวณที่ฉีดและสามารถรักษาผลลัพธ์ของฟิลเลอร์ได้นานขึ้น จึงควรเลือกฟิลเลอร์ที่มีขนาดโมเลกุลเหมาะสม รวมทั้งเทคนิคการฉีดที่ดีด้วย
  2. เกิดอาการแพ้ฟิลเลอร์ ที่มีลักษณะอักเสบ เป็นก้อน นูน แดง โดยอาการแพ้ประเภทนี้อาจพบได้บางครั้ง ภายหลังการฉีดฟิลเลอร์ผ่านพ้นไปแล้วเป็นเวลาหลาย ๆ เดือนหรือนานเป็นปี ขึ้นกับภูมิคุ้มกันของผู้ที่รับการฉีด และอายุใช้งานของฟิลเลอร์แต่ละชนิด
  3. เกิดรอยแดง หรือรอยช้ำบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ ซึ่งสามารถหายไปได้เองภายในระยะเวลา 1-2 สัปดาห์
  4. การเกิดผิวไม่เรียบ (beading) หรือรอยนูน เนื่องจากใช้เทคนิคการฉีดที่ตื้นจนเกินไป เช่น การฉีดในบริเวณที่ชั้นผิวมีความบาง การฉีดฟิลเลอร์ในปริมาณที่มากเกินไป หรือมีการเลือกใช้ฟิลเลอร์ที่มีขนาดโมเลกุลไม่เหมาะสม อาจส่งผลให้เป็นรอยนูน หรือเห็นฟิลเลอร์เป็นก้อนได้
  5. อาการแพ้ฟิลเลอร์ที่จะพบได้น้อยมากอีกลักษณะหนึ่งคือ เป็นผื่น ลมพิษแบบรุนแรง (angioedema) หากมีอาการต้องรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที
  6. หากคลินิกไม่ได้มาตรฐาน ฉีดกับหมอกระเป๋า หรือเทคนิควิธีการฉีดที่ไม่สะอาด อาจเกิดการติดเชื้อภายหลังการฉีดฟิลเลอร์ โดยอาจมีอาการตั้งแต่ แดง ร้อน ปวดบวม มีตุ่ม หรือก้อนหนองตรงบริเวณที่ฉีด filler
  7. ภายหลังการฉีดฟิลเลอร์ เกิดตาบอด อันเนื่องมาจาก filler ที่ฉีดเข้าไปอุดตัน บีบ หรือกดหลอดเลือดแดง (supratrochlear and supraorbital artery) ซึ่งมีแขนงต่อไปที่หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงจอประสาทตา (ophthalmic artery) จนส่งผลให้คนไข้สูญเสียการมองเห็น
  8. หากฉีดฟิลเลอร์ผิดตำแหน่ง โดยฉีดเข้าไปโดนบริเวณหลอดเลือด โดยเฉพาะหลอดเลือดแดง อาจส่งผลให้หลอดเลือดเกิดการอุดตันได้ จนอาจนำไปสู่บริเวณที่เส้นเลือดนั้นมาเลี้ยงเกิดอาการเนื้อตาย (necrosis)

 ใครบ้างที่ไม่เหมาะกับการฉีดฟิลเลอร์

อาการแพ้ฟิลเลอร์และผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการฉีดฟิลเลอร์

(ภาพตัวอย่างเคสแก้ไข กรณีเกิดอุบัติเหตุหลังจากการฉีดฟิลเลอร์จมูก แล้ว filler เข้าหลอดเลือด มีเนื้อตายชั่วคราว (สังเกตที่จุดสีดำ ๆ) ซึ่งหากทำโดยแพทย์ที่มีประสบการณ์สูง รวมถึงใช้ผลิตภัณฑ์ฟิลเลอร์ HA ที่ได้มาตรฐาน จะปลอดภัยเพราะสามารถแก้ไขได้อย่างทันท่วงที) 

หลังฉีดฟิลเลอร์ห้ามกินอะไร? หากอยากให้ฟิลเลอร์เข้าที่เร็วขึ้นมีข้อควรระวังอะไรบ้าง?

หลังฉีดฟิลเลอร์ควรใส่ใจในการดูแลตัวเองให้มากขึ้นเป็นพิเศษ หากต้องการให้ฟิลเลอร์เข้าที่เร็วขึ้น ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาผลลัพธ์หลังฉีด ให้อยู่ได้นานยิ่งขึ้นด้วย โดยเฉพาะควรหลีกเลี่ยงอาหารบางอย่างที่มีส่วนกระตุ้นการอักเสบหรือทำให้ฟิลเลอร์สลายเร็วขึ้นได้

  1.   หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ต้องนั่งหน้าเตาร้อน ๆ จำพวกชาบู หมูกะทะ ปิ้งย่าง
  2.   หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเผ็ดจัด และอาหารประเภทแสบร้อนจนหน้าแดง
  3.   งดดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
  4.   หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง เช่น มะม่วงดอง หน่อไม้ดอง ปลาร้า เนื่องจากมีสารที่ส่งผลให้เส้นเลือดขยายตัว
  5.   หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของนมวัว รวมถึงอาหารที่มีรสหวานจัด เนื่องจากจะไปกระตุ้นให้เกิดการบวมอักเสบ
  6.   ควรงดสูบบุหรี่ จะทำให้ยุบบวมช้า เนื่องจากในบุหรี่มีสารหลายชนิดที่ขยายหลอดเลือด รวมถึงทำให้ผลการรักษาอยู่ได้สั้นลง
  7.     เนื่องจากพยาธิบางชนิดในอาหารอาจไปทำปฏิกิริยากับฟิลเลอร์จนเกิดการอักเสบได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ และอาหารจากร้านอาหารที่ไม่สะอาด

อาการแพ้ฟิลเลอร์

ขอบคุณข้อมูล: [แนะนำ] ฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดี แตกต่างกันอย่างไร  ฉีดฟิลเลอร์ที่ไหนดี จาก Youtube Channel: V Square Clinic

ท้ายนี้ขอฝากไว้ว่า การฉีดฟิลเลอร์ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์อย่างเหมาะสมและถูกต้องตามกฎหมาย ควรเลือกฉีดกับผู้ที่เป็นแพทย์เท่านั้น เนื่องจากแพทย์มีเทคนิคการฉีดที่ดีและมีประสบการณ์สูง จะสามารถแก้ปัญหาของคนไข้ได้ตรงจุด อีกทั้งยังช่วยลดโอกาสที่จะเกิดปัญหาตามมาในภายหลัง

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.vsquareclinic.com/tips/what-is-allergic-reaction-filler/